ศาสตราวุธ

heritage arts

ศาสตราวุธของอยุธยา

ไม่เพียงแต่ทำให้เราได้เรียนรู้และมีความเข้าใจในเรื่องของรูปแบบกองกำลังและยุทธวิธีของกองทัพในอาณาจักรต่างๆ ในห้วงเวลานั้นเท่านั้น แต่บรรดาศาสตราวุธทั้งหลายก็ยังคงเป็นเครื่องสะท้อนถึงพัฒนาการทางสังคมของรัฐนั้นๆ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของศิลปะ วัฒนธรรม ประเพณี และความเชื่อของรัฐเหล่านั้นด้วย

 

ศาสตราวุธของล้านนา

ขนบการตีดาบของล้านนายังคงได้รับการสืบทอดและเป็นที่แพร่หลายมาจนถึงปัจจุบัน เพราะปรากฏหลักฐานว่าดาบล้านนาเริ่มกลายมาเป็นที่นิยมในดินแดนภาคกลางมานับแต่ช่วงปลายรัชกาลที่ ๕ เป็นต้นมาอันเป็นผลมาจากการรวมทั้งสองอาณาจักรเข้าด้วยกันนั่นเอง

 

ความในใจจากศิลปินผู้สร้างสรรค์ผลงาน “ประพจน์ เรืองรัมย์”

“ดาบจะมีคุณภาพได้ไม่ใช่อยู่ที่การตีอย่างเดียว ดูตั้งแต่การหาวัตถุดิบ การคัดแยก ซึ่งส่วนสำคัญที่สุดส่วนหนึ่งก็คือการถลุงเหล็ก การถลุงเหล็กไม่ใช่แค่การใส่ถ่านเติมแร่  ในห้องเผาก็เป็นส่วนสำคัญเช่นกัน วิธีการดูสีไฟในห้องเผา อย่างที่ผมทำ ไม่มีเครื่องไม้เครื่องมือในการตรวจวัดอุณหภูมิ ก็จะใช้สายตาอย่างเดียวดูว่าสีไฟอยู่ในระดับไหนทำให้เหล็กมีคุณภาพ”

 

ความในใจจากศิลปินผู้สร้างสรรค์ผลงาน “อาจารย์ปรีดา อริยะโพธิ์งาม”

“ด้วยงานของชินะปุระจะเน้นเรื่องของศิลปวัฒนธรรมและวิถีเชิงช่างแบบโบราณ เราก็เลยตั้งใจสร้างงานนี้เพื่อส่งต่อ เราพยายามค้นคว้าค้นหาและสร้างขึ้นมา เราจะส่งต่อให้รุ่นต่อไปได้ศึกษาและต่อยอดต่อๆไป”

 

ความในใจจากศิลปินผู้สร้างสรรค์ผลงาน “ณฐ ดวงอำพร”

"การทำดาบแต่ละเล่ม แฝงไปด้วยจิตวิญญาณของช่างแต่ละคน กว่าจะได้ดาบแต่ละเล่ม ค่อนข้างใช้ความสามารถ ความพยายามอย่างมาก ผมกล้าพูดได้เต็มปากเลยว่า มีเล่มเดียวในโลกจริงๆ ที่จะทำในรูปแบบนี้ เพราะทำเล่มสอง ก็คงไม่เหมือนเล่มแรกแล้ว ความพิเศษของดาบที่นำมาไว้ที่ชินะปุระอยากให้ไปเห็นว่าดาบล้านนามีปลายอะไรบ้าง"

​ ​ ​ ​ ​ ​

image
image
image
image
image